top of page
  • Writer's pictureกันต์ธนน วณิชพิสิฐธนา

การรักษาสายตาโดยวิธีธรรมชาติบำบัด (ตอนที่ 13)

วิธีที่ 8 การเปลี่ยนระยะวัตถุในการมองดู (Switching)

​ ผมได้กล่าวตั้งแต่ตอนแล้วว่าคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจะใช้เวลากับการมองใกล้ไม่ว่าจะจ้องดูที่จอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือแม้แต่อ่านหนังสือ การปฏิบัติเช่นนี้เป็นเวลานานทำให้ตาทำงานหนักเพื่อให้มองภาพชัดในระยใกล้ ดังนั้น เพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ การทำ Switching จึงมีส่วนทำให้สายตาได้ผ่อนคลาย และยังสามารถทำให้ตาของเรากลับมามองชัดเจนอีก Switching เป็นการเปลี่ยนระยะทางการมองวัตถุ ระยะใกล้ ระยะไกลปานกลาง และ ระยะไกล

การทำ Switching จะทำให้คอเนีย เลนส์ ซิลลิเอรี่ ลูกตา กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของลูกตาได้รับการผ่อนคลายจากการมองในระยะใดระยะหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ผู้ฝึกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Swinging และ Switching นั้นไม่เหมือนกัน Swinging คือการเปลี่ยนจุดการมองในระยะเดียวกันแต่กวาดสายตาไปรอบ ๆ ในขณะที่ Switching ผู้ฝึกจะมองในจุดที่เป็นมุมแคบ ๆ แต่เปลี่ยนระยการมอง โปรดดูภาพที่ 15

ในภาพที่ 15 ผู้ฝึกยืนห่างออกจากหน้าต่างที่เป็นกระจกใสเล็กน้อย ไม่มีมุมลวดหรืออื่น ๆ ที่จะทำให้ภาพนอกหน้าต่างไม่ชัดเจน ผู้ฝึกสามารถเริ่มจากการมองใกล้ที่ขอบหน้าต่าง อาจจะมองที่กรอบยึดกระจกที่อยู่ตรงกลางของบานหน้าต่างสักพักเพื่อให้เห็นชัดเจน หลังจากนั้นปรับสายตาไปมองระยไกลปานกลางคือที่นกที่เกาะที่ต้นไม้อยู่ มองสักพักเพื่อให้เห็นภาพนกที่ชัดเจน แล้วปรับสายตาให้มองไกลออกไปที่บ้านที่อยู่ไกลออกไป มองสักพักเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน เมื่อฝึกให้เห็นภาพทั้งสามระยะแล้วก็ถือว่าครบวงจร ผู้ฝึกสามารถฝึกสลับระยะทางการมองไปมาหรือจะกระโดดข้ามก็ได้ กลับไปกลับมาและสามารถทิ้งช่วงการมองแต่ละระยะให้ยาวขึ้นก็ได้ สำหรับผู้ที่สายตายังไม่กลับมาชัดเจน ภาพที่มองอาจไม่ชัดเจนนัก นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะสายตาของผู้ฝึกยังไม่คืนกลับมาเป็นปกติ ผู้ฝึกอาจถือว่าการทำ Switching เป็นการบำบัดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการมองเห็น เมื่อฝึกกับวิธีการอื่น ๆ ผู้ฝึกจะเริ่มรู้สึกว่าภาพจะชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อฝึกไประยะหนึ่ง


ภาพที่ 15 การทำ Switching โดยมองออกไปนอกหน้าต่าง

อ่านต่อ การรักษาสายตาโดยวิธีธรรมชาติบำบัด

ตอนที่ 13 วิธีที่ 8 การเปลี่ยนระยะวัตถุในการมองดู (Switching)

49 views0 comments
bottom of page