top of page
  • Writer's pictureกันต์ธนน วณิชพิสิฐธนา

การรักษาสายตาโดยวิธีธรรมชาติบำบัด (ตอนที่ 11)

Updated: May 21, 2018

วิธีที่ 6 การเคลื่อนไหว (Moving)

การมองดูสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ Central Fixation ตามวิธีที่ 5 นั้นเป็นวิธีการที่จะทำให้ตาของเรามองเห็นวัตถุหรือภาพได้ชัดเจนที่สุด เพราะลำแสงจากวัตถุหรือภาพที่มองจะมาตกที่ Fovea บนจอประสาทตาพอดี แต่ถ้าการมองของเราตามวิธี Central Fixation นั้นเป็นแค่การหันหน้าซ้าย ขวา บน หรือ ล่าง โดยส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไม่หันตามไปด้วยจะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถูกบิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง และผลที่สุดภาพที่เห็นก็จะไม่ชัดเจน

ดังนั้น การเคลื่อนที่ จึงช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้การเคลื่อนไหวยังช่วยให้การทำงานของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี และผลที่ได้คือตาทั้งสองข้างจะทำงานประสานกันและทำให้มีสายตาที่ชัดเจน การแคลื่อนในวิธีที่ 6 นี้มีหลายท่าซึ่งจะอธิบายรายละเอียดในแต่ละท่าทางดังนี้

การฝึกด้วยการมองเป็นแลขแปด (The Eight Figure)

การฝึกการมองเป็นเลขแปดนี้ เป็นการจินตนาการว่ามีเลขแปดอยู่ในอากาศ ผู้ฝึกจะเคลื่อนไหวเฉพาะศีรษะโดยให้ตาและหน้าเคลื่อนไปตามรูปเลขแปดดังแสดงในภาพที่ 9 ผู้ฝึกจะเริ่มเคลื่อนไหวทวนเข็มนาฬิกาจากตรงกลางเลขแปด มองขึ้นไปทางด้านซ้ายบน ลงมาข้างล่าง หมุนย้อนกลับมาตรงกลาง แล้วมองตามเข็มนาฬิกาไปด้านบน ล

งมาล่าง แล้ว ย้อนกลับขึ้นมาตรงกลางอีก ทำไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเร็วมาก หรือช้าเกินไป และอย่างลืมหายใจ การฝึกนี้จะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของระบบการมอง


ภาพที่ 9 การฝึกด้วยการมองเป็นแลขแปด

การเคลื่อนไหวทั้งตัว

ต่อมาบรรดาลูกศิษย์ของ Dr. Bates ก็ได้ปรับปรุงวิธีการบริหารการเคลื่อนไหวให้มีท่าทางและประสิทธิภาพมากขึ้นโดยให้การฝึกเคลื่อนไหวนั้น แทนที่จะเคลื่อนไหวเฉพาะศรีษะให้เป็นการเคลื่อนไหวทั้งตัว ดังแสดงไว้ในภาพที่ 10

วิธีนี้ให้ผู้ฝึก ใช้มือวาดเป็นภาพเลขแปดโดยเริ่มต้นทวนเข็มนาฬิกาเช่นเดียวกับวิธีแรก ใช้แขนขวาโดยให้ฝ่ามือหันเข้ามาตาผู้ฝึก แล้วให้ผู้ฝึกมองที่นิ้วกลาง เมื่อเริ่มหมุนแขนเป็นวงกลมแรกให้บิดตัวไปด้านซ้าย ปลายเท้าด้านขวายกขึ้นตั้งกับพื้น หมุนเขนทวนเข็มนาฬิกาให้มาบรรจบที่จุดกลางตอนที่ตัวหันกับมาที่ตำแหน่งตรง ระหว่างหมุนแขนให้จับตามองที่นิ้วกลางไปด้วย เมื่อมาถึงจุดกลางแล้ว ให้ใช้แขนขวาต่อจากแขนซ้ายหมุนทวนเข็มนาฬิกาลักษณะเดียวกัน แล้วทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ อย่าลืมหายใจ

ผมได้ลองฝึกดูแล้วก็รู้สึกดีเพราะเป็นการบริหารแขน ไหล และเอวไปด้วย ในต้นฉบับไม่ได้บอกว่าจะต้องทำนานแค่ไหน แต่ผมคิดว่าทำสัก 50 ครั้ง


ภาพที่ 10 การฝึกเคลื่อนที่แบบทั้งตัว

การโยกตัว (Swaying หรือ Rocking)

การโยกตัวก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการผ่อนคล้ายใจ กาย คอ หน้า และตา ที่จะช่วยให้เราไม่ติดนิสัยชอบเพ่งในสิ่งต่าง ๆ ให้ชัด และช่วยการประสานการทำงานของตา

การโยกตัวนั้น ให้ผู้ฝึกยืนแยกเท้าออกจากกันประมาณ 1 ฟุต งอเข่าเล็กน้อย แล้วโยกตัวไปทางซ้ายและขวาสลับกันไป ให้เคลื่อนหน้าและสายตาไปพร้อม ๆ กันไปในทิศทางเดียวกันกับตัว อย่าหยุดที่ตรงกลาง และอย่าลืมหายใจ ดูภาพที่ 11 ในการทำ Swaying หรือ Rocking


ภาพที่ 11 การโยกตัวอยู่กับที่

การหมุนตัว (Long Swing)

อีกท่าหนึ่งที่ทำได้คือการหมุนตัว 180 องศาโดยให้เท้าอยู่กับที่ วิธีนี้นอกจากมีผลต่อร่างกายเหมือนวิธีอื่น ๆ แล้ว ยังมีผลต่อการบริหารร่างกายส่วนอื่นด้วย วิธีการง่าย ๆ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 12 ดังที่จะอธิบายต่อไปนี้ ให้ผู้ฝึกยืนแยกขาออก หมุนทั้งตัวใบหน้าและสายตาไปทางซ้าย โดยที่เท้าอยู่กับที่ ในขณะหมุนตัวให้ยกเท้าขวาตั้งขึ้นดังภาพ ในลักษณะเดียวกันหมุนตัวกับมาทางด้านซ้ายทั้งตัว แล้วยกเท้าขาวตั้งขึ้น ทำเช่นนี้กลับไปมาสัก 50 ครั้ง ใช้ความเร็วตามสบาย ไม่ต้องรีบ ในขณะหันหน้าไปมา อย่าหยุดมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งในขณะที่สายตากวาดภาพไประหว่างทาง


ภาพที่ 12 การหมุนตัวอยู่กับที่

การเดินอยู่กับที่ (Cross Crawl)

นี่เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้ฝึกได้โดยมีรูปแบบง่าย ๆ ดังแสดงไว้ในภาพที่ 13 ผู้ฝึกจะเดินอยู่กับที่โดยยกเท้าซ้ายขึ้น แล้วแกว่งแขนทั้งสองข้างมาทางซ้าย ใช้มือขวาแตะที่เข่าซ้าย แล้วสลับยกเท้าขวาขึ้น แล้วแกว่งแขนทั้งสองมาทางขวา ใช้มือซ้ายแตะที่เข่าขวา แล้วทำสลับไปเรื่อย ๆ ใช้ความเร็วที่เหมาะสมกับตัวเอง ในขณะที่ฝึกท่านี้ ผู้ฝึกอาจผนวกเอาการมองแบบเลขแปดเข้ามาด้วยก็ได้


ภาพที่ 13 การเดินอยู่กับที่

การยืนด้วยขาข้างเดียว (Cross Crawl Back and Front of Body)

ท่าสุดท้ายในวิธีการที่ 6 ที่ผมคิดว่าไม่ควรพลาดอย่างยิ่งคือการยืนขาเดียว ดังแสดงไว้ในภาพที่ 14 การฝึกนี้ให้ประโยชน์เช่นเดียวกับท่าอื่น ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด แต่ที่ผมคิดว่าพิเศษการท่าอื่นก็คือการยืนบนขาข้างเดียวนี้ เป็นการฝึกที่เหมาะกับคนส่วนมากที่ไม่ได้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ (ผู้ที่สูงอายุอาจต้องระวังในเมื่อเริ่มฝึกเพราะคุณอาจล้มได้รับบาดเจ็บได้)

วิธีการฝึกนั้นไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแต่ยกขาซ้ายขึ้น ใช้มือขวาจับที่ข้อเท้าของขาซ้ายไว้ ส่วนมือซ้ายยกขึ้น ยึดให้สุดไปทางด้านหน้า ยกแขนประมาณ 45 องศากับแนวราบ ตาของผู้ฝึกจะมองไปที่มือ หลังจากนั้นสลับทำอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วทำสลับไปมาโดยใช้ความเร็วพอเหมาะ อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าการฝึกท่านี้ต้องระวังเพราะผู้ฝึกอาจหกล้มจนเป็นอันตรายได้ แต่ถ้าเริ่มฝึกช้า ๆ จะทำให้ขาของคุณแข็งแรงและการทรงตัวของขาจะดีขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเดินจะทำให้เดินได้คล่องขึ้น


ภาพที่ 14 การยืนด้วยขาข้างเดียว

อ่านต่อ การรักษาสายตาโดยวิธีธรรมชาติบำบัด

ตอนที่ 11 วิธีที่ 6 การเคลื่อนไหว (Moving)

33 views0 comments
bottom of page