top of page

คนเป็นเบาหวานประเภทสอง...ต้องการหาย ยกมือขึ้น (ตอนที่ 1/2)

Updated: Mar 5, 2019

กันต์ธนน วณิชพิสิฐธนา เขียน

เราอาจได้รับทราบข้อมูลมาตลอดว่า เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วรักษาไม่หาย และต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต จริงหรือไม่นั้น ในบทความนี้ คุณจะได้รับทราบว่าไม่จริง

ผมตั้งใจว่าจะเขียนเป็นบทความตอนเดียวจบ แต่ปรากฏว่ายิ่งเจาะลึกไปในเรื่องต่าง ๆ ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งสาเหตุและวิธีการ จึงทำให้เรื่องนี้จบในตอนเดียวไม่ได้ โดยในตอนแรกนี้ จะกล่าวถึงโรคเบาหวานในภาพรวม สาเหตุปัจจุบันและปัญหาที่เกิดจากการรักษาในปัจจุบัน ส่วนในตอนที่สอง จะกล่าวถึงสาเหตุใหม่ที่ชัดเจนขึ้นและวิธีการรักษาทางเลือก ซึ่งผลสรุปของการรักษาโรคเบาหวานก็ยังรักษาให้หายขาดได้เหมือนเดิม เพียงแต่ได้พบทางเลือกมากขึ้นทั้งที่มาจากสาเหตุที่เคยสรุปไว้เดิม และสาเหตุใหม่ที่ค้นพบเพื่อใช้เป็นตัวยืนยันว่า ทำไมการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันรวมทั้งหลักโภชนาการที่แนะนำไว้จึงใช้ไม่ได้ผล แต่กลับกลายเป็นว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ และปัจจุบันก็เริ่มกับวัยรุ่นและเด็ก ๆ[i]


อาหารพวกนี้ดูน่าอร่อยจัง... ฉันอายุยังน้อย ไม่เป็นไรหรอก

ประเภทของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังมีรายละเอียดคราว ๆ ในแต่ละประเภทดังนี้

  1. เบาหวานประเภทหนึ่ง (Type 1 Diabetes) เกิดจากเซลล์ในร่างกายที่มีชื่อว่า T Cell ซึ่งเป็นระบบป้องกันตัวเอง (Autoimmune System) ไปทำลาย Beta Cell ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือสร้างไม่ได้เลย จึงทำให้คนเหล่านี้เป็นเบาหวานและแสดงอาการตั้งแต่อายุยังน้อย ในเว็บไซต์ www.diabetesforecast.org[ii] ได้กล่าวว่า แต่เดิมนั้น ให้ติดตามการเปลี่ยนของระดับน้ำตาล (Continuous Glucose Monitors - CGMs) ประมาณอายุ 25 ปี ปัจจุบันมีการแนะนำให้เริ่มติดตามตั้งแต่อายุ 18 ปี คนกลุ่มนี้อาจต้องใช้ยาตลอดชีวิต ในวงการแพทย์ยังไม่ทราบว่าโรคเบาหวานประเภทที่ 1 นั้น เกิดจากสาเหตุใด ซึ่งตรงนี้ก็ยอมรับได้ เพราะมีหลาย ๆ โรคและหลาย ๆ อย่างบนโลกนี้เราก็ยังค้นหาสาเหตุไม่พบ เบาหวานประเภทที่หนึ่งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้

  2. เบาหวานประเภทสอง (Type 2 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานของผู้ป่วยเองโดยแท้ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ แต่พันธุกรรมอาจมีส่วนที่ทำให้คนบางกลุ่มสามารถเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น คำอธิบายง่าย ๆ ของเบาหวานประเภทสองคือร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ (เว้นเสียแต่ว่าตับอ่อนของผู้ป่วยมีปัญหา ซึ่งก็อาจมีสาเหตุมาจากอย่างอื่นก็ได้) แต่ปริมาณของน้ำตาลในเลือดก็ยังสูงเกินไป ผลสุดท้ายจึงเป็นโรคเบาหวาน

  3. เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)[iii] ซึ่งชื่อบอกชัดเจนว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันนี้โชคดีว่าผู้ชายไม่เป็น เบาหวานในขณะตั้งครรภ์เกิดจากกระบวนการในร่างกายที่ทำให้เกิดการดื้ออินซุลินของผู้ตั้งครรภ์ และจะเป็นในช่วง 3 เดือนที่สองของการตั้งครรภ์ แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายไปหลังคลอดบุตร จากบทความอ้างอิงกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ประมาณ 6-7 เปอร์เซ็นต์

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้แนะนำให้แยกกลุ่มผู้ป่วยแบบใหม่โดยแยกเป็น 5 กลุ่ม รายละเอียดตามนี้ ซึ่งคนในวงการแพทย์ค่อนข้างจะเห็นด้วย เพราะจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปอย่างชัดเจน ผมจึงยึดของเดิมไปก่อน



อาการของคนที่เป็นโรคเบาหวาน


ต่อไปนี้เป็นอาการของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่ สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทสองอาจไม่รู้สึกผิดปกติกับอาการที่เกิดขึ้นก็ได้ เพราะการพัฒนาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน แต่ก็จะเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออาการของโรคเบาหวานเริ่มก่อตัวขึ้น

  • ปัสสาวะบ่อย

  • รู้สึกกระหายน้ำมาก

  • รู้สึกหิวมาก แม้ว่าคุณจะรับประทานแล้ว

  • เหนื่อยล้ามาก

  • มองเห็นไม่ชัด

  • บาดแผล/รอยช้ำที่หายช้า

  • น้ำหนักลด แม้ว่าคุณจะทานอาหารมากขึ้น (ประเภท 1)

  • รู้สึกเสียวจี๊ด ปวด หรือชาที่มือ/เท้า (ชนิดที่ 2)

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ (เรารู้แต่ไม่ตระหนัก)


พออายุมากขึ้น เราก็เริ่มพัฒนาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในร่างกายของเราโดยที่เราทั้งรู้และไม่รู้ แต่ถ้าคุณยังไม่มีก็ถือว่าโชคดี แต่เดิมนั้น มนุษย์จะพัฒนาโรคเบาหวานประเภท 2 (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าโรคเบาหวาน) เมื่อมีอายุช่วงกลาง 40 ปีขึ้นไป แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทางโภชนาการ ทำให้เราสามารถพัฒนาโรคเบาหวานได้ในช่วงอายุ 30 แล้ว และแม้แต่วัยรุ่นและเด็ก ๆ ก็มีอาการของโรคเบาหวานดังที่กล่าวข้างต้น นั่นหมายความว่า คนเหล่านี้เริ่มรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย จากข้อมูลในหน้านี้ขององค์การอนามัยโลก จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน 1 ใน 11 คนของคนบนโลกนี้เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเท่ากับ 422 ล้านคน สาเหตุที่ตัวเลขสูงเช่นนี้ อาจมาจาก

  1. มนุษย์รับประทานอาหารมากเกินจำเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับคนสมัยก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมหลอกล่อให้เรารับประทานมากขึ้น โดยเฉพาะบุฟเฟต์ และ

  2. มนุษย์รับประทานอาหารขยะมากขึ้น (มาจากเทคโนโลยีอาหารนั่นเอง) หรือ

  3. แม้จะไม่ได้รับประทานอาหารขยะมากนัก แต่การที่เราไม่รู้จักรักษาสมดุลของหมู่อาหารที่เรารับประทาน หรือ

  4. มนุษย์มีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยมียาเบาหวานช่วยยึดอายุ หรือ

  5. รวมกันทุกข้อ

โดนัทคือสิ่งที่เด็กจะเลือกจากทั้งสิ่งที่มี

หากคุณเองเป็นโรคเบาหวานหรือรู้จักผู้ที่เป็นและเป็นคนใครชิด คุณอาจสังเกตว่า ผู้ป่วยก็พยายามปฏิบัติตนในเรื่องการควบคุมอาหารตามที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายแนะนำ แต่ก็ไม่เห็นว่าน้ำตาลจะลดลงหรืออาการของโรคเบาหวานดีขึ้น

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ใครเป็นคนกำหนดว่าเราจะต้องรับประทานอาหาร 3 มื้อ มีการสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการรับประทานอาหาร ในชนห่างไกลบางกลุ่มรับประทานวันละมื้อ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งรับประทานเมื่อหิว ซึ่งจะเป็น 1-2 วัน ต่อครั้ง แม้ในปัจจุบัน คนบางคนที่ห่วงใยในสุขภาพตัวเองและตระหนักถึงอาหารที่ด้อยคุณภาพได้หันมาลองรับประทานวันละ 1-2 มื้อเท่านั้น โดยรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ และคนเหล่านี้ก็รายงานว่า ยังมีชีวิตที่ปกติสุขและแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน

บนเว็บไซต์ที่เป็นของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น World Health Organization หรือ American Diabetes Association เป็นต้น ได้กล่าวว่า ไม่ใช่ความผิดของคุณที่เป็นโรคเบาหวาน ผมมานั่งตรึกตรองแล้วก็ว่าจริงครับ ไม่ใช่ความผิดของเรา

ที่ต้องบอกเช่นนั้นก็เพราะเราถูกสอนมาอย่างนั้น ที่ผ่านมาจำนวนของผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และตัวเลขที่เพิ่มขึ้นก็เพิ่มขึ้นอยากรวดเร็ว ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรกของหัวข้อนี้ นั่นหมายความว่า

  1. ข้อมูลด้านโภชนาการของบริษัทที่ผลิตอาหารถูกบิดเบือนโดยนักวิทยาศาสตร์ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (คอรัปชั่นต่อคนทั้งโลกระดับนโยบาย) และ/หรือ

  2. หลักโภชนาการต่าง ๆ ที่แนะนำมาและเราก็ถือปฏิบัติยังไม่ดีพอ และไม่ได้ช่วยให้เรารอดพ้นจากโรคหรือไม่ได้ช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น และ/หรือ

  3. ในบรรดายาที่มีอยู่ทั้งหลายนั้น ใช้ไม่ได้ผล

ขอเดาเอาว่า เด็กไทยเราเริ่มนิยมอาหาร Fast Food ตั้งแต่รุ่น Gen Y ซึ่งเกิดประมาณ พ.ศ. 2523-2537 และรุ่นต่อ ๆ มาก็ถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารที่เป็นอาหารสำเร็จรูปจากห้างสะดวกซื้อมากขึ้น รวมทั้ง Fast Food Chain ทั้งหลาย (ผมเพิ่งไปใช้บริการ KFC มาไม่นานและได้สังเกตเห็นว่ามีน้ำที่เรียกว่า Refill ด้วย เรียกว่าดื่มจนเอียนก็ว่าได้ สวรรค์จริง ๆ ของคนชอบ นั่งอยู่ 2 ชม. คุยงานกับเพื่อน สังเกตได้ว่ามีคนสั่งน้ำอัดลมไม่ต่ำกว่า 90% ผมขอถ้วยสำหรับน้ำเปล่า)

ประกอบกับการสนับสนุนให้ใช้น้ำมันพืช (คอรัปชั่นต่อคนทั้งโลกระดับนโยบายอีกเหมือนกัน) ที่คิดว่าดีต่อร่างกาย ปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะชีวิตในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีความเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา แต่ในเมืองใหญ่ ๆ ของไทยที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นก็เริ่มมีวิถีชีวิตในลักษณะเดียวกัน บริษัทที่อยู่ในวงการอาหารจึงได้ผลิตอาหารสำเร็จรูปออกมาจำหน่ายจนผู้บริโภคเองก็ยังตามไม่ทัน จนกลายเป็นว่าจะเร่งรีบหรือไม่เร่งรีบก็ชอบซื้ออาหารประเภทนี้รับประทานเป็นประจำ ผู้ปกครองก็ชอบใจเพราะลูก ๆ ก็ชอบและง่ายต่อชีวิตตัวเอง

มีสารคดีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมดูเมื่อสัก 15 ปีที่แล้วเห็นจะได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาของระบบสารสนเทศ โดยชายชาวเยอรมันผู้หนึ่งกล่าวถึงความรวดเร็วในการประมวลผของคอมพิวเตอร์ และให้ข้อคิดว่าในเมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขนาดนั้นแล้ว มนุษย์จะเอาเวลาที่เหลือไปทำอะไร เราจะเห็นชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่มักใช้เวลานั้นไปกับสิ่งที่ไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์กับตัวเองนัก


ผู่ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย ซึ่งมักควบคุมอาหารไม่ได้

กลไกของร่างกายในการเผาผลาญอาหาร[iv]


ในสารอาหารหลักสามชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตก่อนเป็นสิ่งแรกให้เป็นพลังงานเพราะไม่สามารถเก็บคาร์โบไฮเดรดไว้ได้ในปริมาณมาก คาร์โบไฮเดรตในอาหารถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งเคลื่อนไปในลำไส้เล็ก ตับ และเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งจะส่งสัญญาณให้เซลล์รับกลูโคสไปใช้งาน กลูโคสที่เหลือใช้จะถูกสะสมอยู่ในตับ (ประมาณ 6%) และกล้ามเนื้อ (ประมาณ 80%) ในรูปของไกลโคเจน ที่เหลือ 4% เป็นกลูโคสจะวนเวียนอยู่ในกระแสเลือด[v] เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เช่น ระหว่างมื้ออาหาร ตับจะคายไกลโคเจนออกมาเพื่อใช้สร้างพลังงาน วงจรนี้ช่วยให้ร่างกายของเรามีแหล่งเชื้อเพลิงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เราไม่ต้องรับประทานอาหารระหว่างมื้อ


โรคเบาหวานเกิดขึ้นอย่างไร


สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ เมื่ออินซูลินส่งสัญญาณให้เซลล์รับกลูโคสแล้ว แต่ปรากฏว่าเซลล์ไม่ยอมดูดซึม ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่าดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) กลูโคสจึงไม่ถูกนำไปใช้ เมื่อเซลล์ดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายไม่สามารถสื่อสารกับตับอ่อนได้ว่าทำไมกลูโคสยังมีในกระแสเลือดมาก ตับอ่อนคิดว่าปริมาณอินซูลินน้อยเกินไป จึงผลิตอินซูลินเพิ่มเติม เพื่อเป็นสัญญาณให้เซลล์รับกลูโคสมากขึ้น แต่เซลล์ก็ยังไม่ดูดซึมกลูโคสเพิ่มเติมอยู่ดี วงจรเช่นนี้ก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่กลูโคสในกระแสเลือดยังสูงอยู่ เมื่อเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับปี สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ตับอ่อนของเราก็อาจเสื่อมโทรมและอาจผลิตอินซูลินได้น้อยลง และถ้าเราไปหาหมอ หมอก็จะพบว่าน้ำตาลในเลือดเราสูง เราก็จะได้ยาเบาหวานหรืออินซูลินแล้วแต่อาการ (คุ้นเคยกับคำว่า “แล้วแต่อาการ” ไหมครับ คำนี้ลึกซึ้งมาก)

จากที่กล่าวข้างต้นในเรื่องแบ่งกลุ่มของผู้ป่วย นักวิจัยกลุ่มหนึ่งออกมาแนะนำว่า ควรแบ่งกลุ่มผู้เป็นโรคเบาหวานออกมาเป็น 5 กลุ่ม นั้นก็มีเหตุผลที่ชัดเจนของมันเองว่า หมอทุกวันนี้ไม่เคยวินิจฉัยโรคเบาหวานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ใช้ยาแบบเดียวกันรักษาจากทุกสาเหตุ (ความจริงหมอก็งานเยอะนะ เห็นใจกันบ้าง)



ร่างกายของเราซ่อมแซมตัวเองได้


สิ่งที่เรามักไม่ตั้งคำถามและหมอก็ไม่เคยอธิบายให้เรารู้ก็คือ ทำไมเซลล์ถึงไม่รับกลูโคสเข้าไปใช้งาน ส่วนใหญ่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ จะให้เหตุผลว่าเซลล์รับสัญญาณทำงานผิดปกติหรืออินซูลินมีน้อยเกินไป มันจะเป็นไปได้ไหมว่าเนื่องจากเซลล์รับกลูโคสมากเกินไปแล้ว

สิ่งที่เป็นธรรมชาติและไม่ต้องเรียนหนังสือก็รู้ว่า ร่างกายของเราสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเราถูกมีดบาดเล็กน้อย เรามักปล่อยให้บาดแผลนั้นหายเองถ้าอาการนั้นไม่ใช่บาดเจ็บมากหรือสาหัส ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถูกสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา จะเร็วหรือช้าและมากหรือน้อย อยู่ที่สุขภาพและสารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป อาการของโรคเบาหวานไม่ได้เป็นอาการชนิดเฉียบพลัน แต่มีการพัฒนาอย่างช้า ๆ เป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนี้ เราอาจเริ่มเกิดอาการต่าง ๆ ที่เราไม่สังเกต เนื่องจากร่างกายพยายามเยียวยาตัวเอง แต่ระบบก็แย่ลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดจึงได้แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดในหลาย ๆ ด้าน[vi] จากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปและร่างกายก็ขาดความสามารถที่จะเยียวยาตัวเองได้


ลักษณะการรักษาและปัญหาในการใช้ยาบรรเทาโรคเบาหวาน


ในการบรรเทาโรคเบาหวาน มียาที่ทำงานแตกต่างกันออกไปทั้งหมดหลายวิธีดังนี้

  • บังคับให้ตับ (Liver) สร้างกลูโคสน้อยลง

  • เพิ่มความไวในการตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ในร่างกาย หรือลดการดื้อต่ออินซูลิน

  • บังคับให้ลำไส้ดูดซึมกลูโคสได้น้อยลง

  • เพิ่มการผลิตอินซูลินของตับอ่อน

  • ลดเอนไซม์ชื่อ Alpha-amylase ที่ผลิตโดยน้ำลาย ทำให้ไม่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรดเชิงซ้อนได้ จึงไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสและถูกถ่ายทิ้ง

  • ลดอาการท้องว่าง ทำให้หิวน้อยลง

จะเห็นได้ว่า กระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นการบังคับให้ร่างกายทำงานเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติไปและเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ หากต้องใช้ยาที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเวลานาน สภาพของอวัยวะของเราจะเป็นอย่างไร หากคุณได้อ่านบทความเกี่ยวกับการรักษาสายตาโดยวิธีธรรมชาติ คุณจะรับทราบว่าการใส่แว่นสายตานั้น ทำให้ตาของคุณแย่กว่าเดิมมากเพียงใด

ยาโรคเบาหวานแบ่งออกเป็นกลุ่ม ซึ่งมีทั้งรับประทานและฉีด ยาบางกลุ่มอาจมีผลในลักษณะเดียวกัน เช่น ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ที่อยู่คนละกลุ่มก็เพราะมีกระบวนการการทำงานของการควบคุมที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นในที่นี้ ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่บริษัทยาแต่ละแห่งในสหรัฐอเมริกาจะต้องส่งให้หน่วยงานที่เรียกว่า Physician Desk Reference เพื่อตรวจสอบโดยมีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือรองรับ หน่วยงานนี้จะตีพิมพ์คู่มือที่ใช้ชื่อเหมือนกันและเรียกสั้น ๆ ว่า PDR ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวงการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ว่าเป็นคู่มือมาตรฐานและเชื่อถือได้เพื่อให้แพทย์อ้างอิงสำหรับจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย (วงการแพทย์ในเมืองไทยไม่ได้ใช้ PDR แต่ใช้อย่างอื่นที่คล้ายกัน)

เผื่อบางคนสนใจ ยาแต่ละชนิดที่ผมนำเสนอข้างล่างนี้ทั้งหมด 7 กลุ่ม อาจมีมากกว่า 1 บริษัทที่ผลิตจำหน่าย ผมเพียงเลือกตัวอย่างมาให้กลุ่มละ 1 ตัว คุณสามารถเลือกอ่านตามสะดวก โดยดูแค่ส่วนที่เรียกว่า CONTRAINDICATIONS / PRECAUTIONS บนหน้าเว็บเพจนั้นก็พอว่าผลข้างเคียงของแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง (เป็นภาษาอังกฤษครับ แปลไม่ไหวเพราะมากเหลือเกิน) จะลองดูสักตัวอย่างก็ดีครับ ไม่ต้องอ่านละเอียด

  1. กลุ่ม Metformin ลดการผลิตกลูโคสของตับ ตัวอย่าง ActoPlus Met

  2. กลุ่ม Meglitinides กระตุ่นให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินมากขึ้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตัวอย่าง Prandin

  3. กลุ่ม Thiazolidinediones ทำให้เซลล์ในร่างกายไวต่อการกระตุ่นของอินซูลิน ตัวอย่าง Avandia

  4. กลุ่ม Sulfonylureas กระตุ่นให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินมากขึ้น ตัวอย่าง Glipizides

  5. กลุ่ม GLP-1 Receptor Agonists ทำให้อาหารย่อยช้าลงและลดระดับน้ำตาลในเลือด ตัวอย่าง Victoza

  6. กลุ่ม SGLT2 Inhibitors ยากลุ่มใหม่ ทำให้ไตไม่ดูดซึมน้ำตาลกลับไปในเลือด แต่ขับถ่ายน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ตัวอย่าง Invokana

  7. กลุ่ม DPP-4 Inhibitors ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ตัวอย่าง Janumet

ย้อนกลับมาที่ย่อหน้าแรกในหัวข้อ ร่างกายของเราซ่อมแซมตัวเองได้ ว่า แล้วทำไมเราไม่วิเคราะห์หาสาเหตุว่าทำไมเซลล์ถึงทำงานผิดปกติ และเราจะทำอยางไรให้เซลล์ทำงานได้ดีเหมือนเดิม


ทำไมเซลล์ของเราจึงไม่รับกลูโคสเพิ่ม


แบ่งออกเป็นสองกรณี กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง ร่างกายอาจไม่สร้างอินซูลินเลยหรือสร้างน้อยมาก ในกรณีนี้ จำเป็นต้องเพิ่มอินซูลินเข้าไปให้ร่างกาย เพื่อให้เป็นตัวเปิดสัญญาณรับกลูโคสให้กับเซลล์ ร่างกายจึงจะนำกลูโคสไปใช้งานได้ คนที่เป็นโรคเบาหวานกลุ่มนี้มักจะผอม เนื่องจากต้องควบคุมปริมาณอินซูลินในร่างกายให้ได้สัดส่วนกับความต้องการ เมื่อในตับมีกลูโคสไม่เพียงพอในการใช้สร้างพลังงาน ร่างกายจะเริ่มดึงออกมาจากกล้ามเนื้อแทนซึ่งปกติแล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น จึงทำให้คนกลุ่มนี้มักมีรูปร่างผอม

ส่วนในกรณีที่เป็นเบาหวานประเภทสอง เซลล์ไม่สามารถรับกลูโคสมากกว่านี้แล้วเนื่องจากมีกลูโคสมากเกินไปในร่างกาย (อีกสาเหตุหนึ่งของการดื้ออินซูลิน) และร่างกายของเราเองก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ไหน เหมือนกับคุณเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้รถ ถ้าถังเต็มแล้วหัวจ่ายจะตัดเองเพราะเครื่องตรวจจับที่หัวจ่ายน้ำมันทำงานปกติ การที่หมอให้ยาไปกระตุ้นให้เซลล์รับกลูโดสมากขึ้นน้้น เป็นการบังคับให้เซลล์ทำงานมากขึ้น และน้ำตาลมากเกินไปก็เป็นพิษต่อร่างกายด้วย

โดยกลไกของธรรชาติแล้ว เมื่อไตเห็นว่ามีน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไป มันก็จะขับน้ำตาลส่วนเกินออกไปโดยใช้น้ำในร่างกายเป็นตัวช่วย ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงกระหายน้ำบ่อยเนื่องจากน้ำถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะเพื่อถ่ายน้ำตาลออก ด้วยเหตุนี้หากไตของผู้ป่วยยังทำงานปกติ ด้วยเหตุผลใดหมอจึงต้องใช้ยาคุมน้ำตาล หรือจะเร่งให้ไตขับน้ำตาลออกเร็วขึ้นโดยมันต้องทำงานหนักขึ้นหรือ


ประเภทของน้ำตาลสำคัญไฉน


น้ำตาลที่เราใช้กันมีอยู่หลายประเภทมาก แต่ที่เป็นเรานิยมใช้กันเป็นประจำทั้งในบ้านและในอุตสาหกรรมได้แก่น้ำตาลทราย แต่ความจริงยังมีน้ำตาลอีกหลายอย่างที่เรารับประทานทุกวันเพียงแต่เราอาจเข้าใจว่าเป็นน้ำตาลทราย ต่อไปนี้ผมจะกล่าวถึงน้ำตาลที่เรารับประทานเป็นประจำ

  1. กลูโคส ได้มาจากการแตกคาร์โบไฮเดรดในร่างกายเป็นน้ำตาลที่ร่างกายใช้งานได้ดี โดยจะถูกส่งไปตามกระแสเลือดเพื่อใช้สร้างพลังงานในเซลล์ต่าง ๆ สำหรับร่างกาย ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาเมื่อมีกลูโคสมากขึ้นในกระแสเลือด กลูโคสมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

  2. ฟลุกโตส น้ำตาลที่ได้จากผลไม้ทั่วไป เป็นน้ำตาลที่ต้องทำให้แตกตัวในตับเท่านั้น ไม่ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลิน และมีส่วนทำให้เกิดเป็นไขมันมากกว่ากลูโคส คุณสมบัติดูเหมือนจะเป็นไขมันมากกว่าคาร์โบไฮเดรด น้ำตาลนี้ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายหากรับประทานสดจากผลไม้หรือน้ำที่คั้นใหม่ ๆ ในสหรัฐอเมริกา ฟลุกโตสเป็นน้ำตาลหลักที่ใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มเนื่องจากราคาถูกและมีรสหวาน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำจากข้าวโพดที่เรียกว่า High Fructose Corn Syrup (HFCS) น้ำตาลข้าวโพดมีหลายสูตร และสูตรที่มักใช้จะมีกลูโคส 42% และฟรุกโตส 55% เรียกว่า HFCS 55 รายละเอียดจากที่นี่

  3. ซูโครส คือน้ำตาลทราย ซึ่งทำมาจากอ้อยและหัวบีท พีชจำนวนมากก็มีซูโครสอยู่ ซูโครสมีส่วนประกอบทั้งกลูโคสและฟลุกโตสในตัว เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้ว ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงไปตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ในเรื่องสารอาหารนั้น แทบจะไม่เหลือแล้วเนื่องจากผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม หากมีทั้งกลูโคสและฟลุกโตสมากเกินไป มันจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมัน ซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นของอินซูลินที่ตอบสนองจากกลูโคส

  4. แล็คโตส เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำนม มีส่วนประกอบที่เป็นกลูโคสและกาแล็คโตส ต้องถูกแตกออกมาเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้ บางคนอาจแพ้น้ำนมก็เนื่องมาจากแล็คโตสนี้เอง

แนวคิดที่แตกต่างจากมาตรฐานที่ใช้ในวงการแพทย์ทั่วไปในการรักษาโรคเบาหวาน


เมื่อคุณไปหาหมอ และได้รับการวินิจฉัยแบบหยาบ ๆ ว่าเป็นโรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับอาการในที่นี้หมายถึงน้ำตาลมีมากแค่ไหน หมอก็อาจจ่ายยาโรคเบาหวานให้คุณและแนะนำให้ควบคุมอาหาร แล้วคุณก็บอกขอบคุณ ไปรับยา จ่ายเงิน กลับบ้านแล้วตั้งหน้าตั้งตารับประทานยา คุณเคยถามหมอคำถามต่อไปนี้ไหมว่า

  • ไม่ต้องใช้ยาได้ไหม หรือนานแค่ไหน

  • ฉันจะรับประทานอาหารประเภทไหนอย่างไร

  • จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

หมอมักจะแนะนำให้คุณใช้ยาและจะบอกคุณว่าโรคนี้เรื้อรัง[vii] และยิ่งอายุมากขึ้นอาการจะทรงตัวถ้าคุมอาหารได้ (พูดแบบเอาใจ) หรือแย่ลงเรื่อย ๆ ส่วนอาหารนั้นให้รับประทานประเภทแป้ง น้ำตาล และของมันให้น้อยลง หมออาจมีเอกสารแจกให้ไปอ่านเอง “แล้วค่อยมาดูอาการครั้งหน้าตามนัด” หมอบอกคุณมากกว่านี้ไม่ได้เพราะหมอไม่เคยเรียนมาว่าการที่จะรักษาโรคเบาหวานให้หายนั้น ต้องทำอย่างไร (เพราะในหลักสูตรไม่มี)


ทำไมหมอถึงรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดไม่ได้


คุณอาจถามเพิ่มเติมว่ามีวิธีการรักษาอื่นนอกจากใช้ยาหมอไหม คุณก็จะได้รับคำตอบว่าไม่มีหรือมีแต่ไม่ได้ผล คุณอาจถามคำถามสุดท้ายว่า การใช้อาหารเสริมนั้นจะช่วยหรือไม่ หมอก็จะบอกว่าอย่าไปเปลืองเงินกับของพวกนี้เลย หมอจะรู้ได้อย่างไรในเมื่อตลอด 6 ปีของการเรียน หมอใช้เวลาอย่างมากแค่ 1-2 สัปดาห์ในเรื่องสารอาหารและในหลักสูตรหมอทั้งโลก ก็ไม่มีสอนให้หมอใช้สารอาหารในการรักษาโรค

อะอะ.. อย่าเพิ่งต่อว่าผม หลักสูตรแพทย์ต้นตำรับมาจากสหรัฐอเมริกา คนที่ให้ทุนงานวิจัยมากสุดก็คือบริษัทยา และเงินบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็มีมากพอที่จะชี้ไม้ให้เป็นนกได้ครับ ถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัทยาที่จำหน่ายยาทุกประเภททั่วโลกและทำกำไรมหาศาล คุณจะให้ลูกค้าคุณรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาคุณหรือครับ ดูตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงก็แล้วกัน


จบตอนที่ 1


ตอนที่ 2 เราจะพูดถึงสาเหตุใหม่ ๆ (ก็ไม่ค่อยใหม่นักหรอกเพราะออกมาหลายปีแล้ว แต่เราไม่เคยได้รู้) ทางเลือกที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีที่สามารถรักษาโรคเบาหวานได้โดยเลิกใช้ยา มีงานวิจัยที่ทดลองกับผู้ป่วยโรคเบาหวานจริงและหายจากโรคร้ายนี้เป็นที่ประจัก

หากคุณผู้อ่านมีข้อแนะนำหรือความคิดอย่างไร โปรดแสดงความคิดเห็นก็จะขอบคุณมาก แล้วพบกันในตอนหน้าเร็ว ๆ นี้ครับ



48 views0 comments
bottom of page