top of page
  • Writer's pictureกันต์ธนน วณิชพิสิฐธนา

คนที่มีปัญหาฟันผุ อ่านตรงนี้

Updated: Jun 26, 2018


Tooth Decay

เมื่อพูดถึงสุขภาพของเราแล้ว เราเริ่มรู้จักดูแลแบบองค์รวมมากขึ้น คนจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอื่น ๆ ที่ช่วยลดความจำเป็นในการพบแพทย์เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความอ่อนแอของต่อมหมวกไต และอื่น ๆ อีกมากมาย แม้ว่านี่เป็นข่าวดีสำหรับสุขภาพโดยรวมของเรา แต่ก็ยังมีช่องว่างสำหรับการปรับปรุง เนื่องจากผมเชื่อว่าเรามักจะมองข้ามตัวเลือกแบบองค์รวมที่มีอยู่เมื่อพูดถึงสุขภาพช่องปาก

เราได้รับการสั่งสอนว่า เมื่อมีสัญญาณของฟันผุ เราควรรีบวิ่งไปหาหมอฟันเพื่ออุดเสีย เรายังได้รับการสอนอีกด้วยว่า เราไม่มีทางเลือกอื่นหากฟันเริ่มผุ นี่คือความคิดที่ผมอยากจะท้าทาย

ในกรณีที่คุณต้องอุดฟันไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ การทำเช่นนั้นทำให้อาการคุณแย่ลงได้ เมื่อคุณอุดฟัน ทันตแพทย์จะเจาะลึกเข้าไปในเนื้อฟันของคุณ แล้วอุดให้เต็มด้วยสารสังเคราะห์ ซึ่งข้อเสียของมันมีค่อนข้างมาก การอุดฟันส่วนใหญ่มักจะทำให้ฟันของคุณเสียหายมากกว่าฟันผุของคุณด้วยซ้ำ

เมื่อเริ่มมีสัญญาณฟันผุ ผมแนะนำให้ใช้อาหารและ/หรืออาหารเสริมเพื่อฟื้นฟูฟัน (Remineralization) ฟังดูแล้วเป็นวิธีที่ง่ายเกินไป (หรือเป็นไปไม่ได้) สำหรับปัญหาที่ซับซ้อนและรุนแรงมาก แต่ผมให้คุณมั่นใจได้ว่า โภชนาการเป็นรากฐานของปัญหาฟันเกือบทั้งหมดรวมทั้งฟื้นฟูปัญหาเหล่านั้นด้วย

การฟื้นฟูฟัน เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่ร่างกายของคุณทำงานตามธรรมชาติเพื่อให้ฟันมีสุขภาพดีและแข็งแรง และเช่นเดียวกับกระบวนการอื่น ๆ ในร่างกายของคุณ มันก็ต้องการสารอาหารที่เหมาะสมที่จะทำงานได้อย่างราบรื่น

เช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายของเรา ฟันของเราบางครั้งต้องการสารอาหารเพิ่มเติม และคุณอาจจะประหลาดใจที่ได้ยินว่า มีอาหารเสริมบางอย่างที่คุณสามารถใช้เพื่อฟื้นฟูฟันของคุณได้ตามธรรมชาติ ต่อไปนี้เป็นสารอาหาร 6 ชนิด ที่อาจทำให้การอุดฟันครั้งต่อไปไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคุณอีก


ยอดสารอาหาร 6 ชนิดที่ช่วยฟื้นฟูฟัน


1. แคลเซียม

คุณคงไม่แปลกใจที่เห็นแคลเซียมในรายการนี้ โดยทั่วไปเราเชื่อมโยงแคลเซียมกับกระดูกที่สุขภาพดีและแข็งแรง เนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและฟันของเรา และเราจำเป็นต้องมีฟื้นฟูฟันของเราด้วย[i]

แต่แคลเซียมเป็นสารอาหารที่ค่อนข้างจู้จี้ ถ้าร่างกายคุณไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมอย่างมีประสิทธิภาพ มันก็จะกลายเป็นของไร้ประโยชน์ นอกจากนี้ หากคุณไม่เสริมด้วยสารอาหารอื่น ๆ บางตัว แคลเซียมอาจแสดงพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้และไปตกอยู่ในที่ ๆ ไม่ควรอยู่ในร่างกายคุณ เราจึงจำเป็นต้องมีส่วนผสมของสารอาหารที่ถูกต้อง ได้แก่ วิตามิน D3 และ K2 เพื่อดูดซับและควบคุมแคลเซียมไปยังที่ที่ร่างกายต้องการ

คำแนะนำ: รับประทานแคลเซี่ยม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน และรับประทานร่วมกับอาหารเสริมต่อไปนี้เพื่อช่วยฟื้นฟูฟัน แคลเซี่ยมจากอาหารไทยอ่านตรงนี้


2. วิตามิน D3

วิตามินดีอาจเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับสุขภาพโดยรวม ชื่อของมันทำให้คุณเข้าใจผิดเพราะวิตามินดีเป็นเหมือนฮอร์โมนมากกว่าวิตามิน และด้วยเหตุนี้ เราจึงมีตัวรับวิตามินดีในทุกเนื้อเยื่อและอวัยวะทั่วร่างกายของคุณ

เมื่อกล่าวถึงการฟื้นฟูฟันของคุณโดยเฉพาะ สารตัวนี้ซึ่งละลายในไขมันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดูดซึมแคลเซียมและสร้างความสมดุลของแร่ธาตุทั่วร่างกายอย่างเหมาะสม[ii] กระบวนการทั้งสองนี้มีความสำคัญต่อการก่อตัวและซ่อมแซมกระดูกและฟันของคุณ มันยังมีส่วนช่วยในการรักษาโครงสร้างของฟันของคุณให้คงอยู่ตลอดไป หากคุณดูแลเป็นอย่างดี ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรขาดวิตามินดีด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่[iii]

  • เราได้รับแสงแดดน้อยลงเนื่องจากเราใช้เวลาในร่มเกือบตลอดเวลาและเราใช้ครีมกันแดดมากเกินไป

  • เรารับประทานกรด Phytic มากเกินไป ซึ่งจะขัดขวางการเผาผลาญวิตามินดี อาหารที่มีกรด phytic และรับประทานให้น้อยลงประกอบด้วย

- อัลมอนด์

- ถั่ว

- เฮเซลนัท

- ธัญพืช

- ถั่วเหลือง

- เมล็ดงา

คำแนะนำ: จากเว็บไซต์นี้กล่าวว่า คุณไม่สามารถได้รับวิตามิน D ได้เพียงพอจากอาหาร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเสริมจากวิธีการอื่น และวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการออกไปรับแสงแดด ซึ่งก็ไม่ได้ใช้เวลามากมาย ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้โปรดอ่านจากลิงค์ข้างต้นในย่อหน้านี้ หากจะใช้วิตามินที่เป็นอาหารเสริม ขอแนะนำให้รับประทานวิตามิน D3 มากกว่า D2 เนื่องจากร่างกายสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น – ให้ใช้ 1000 IU ขึ้นไปในแต่ละวัน


3. วิตามิน K2

ผมมักจะแนะนำให้ใช้วิตามิน D3 จับคู่กับวิตามิน K2 เนื่องจากทำงานเสริมกันเพื่อเพิ่มการดูดซึมและการกระจายของแคลเซียม วิตามิน D3 เป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น ในขณะที่วิตามิน K2 จะทำงานเหมือนกับสัญญาณไฟจราจรที่ควบคุมแคลเซียมให้ไปทั่วร่างกาย

นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องใช้วิตามิน K2 เพื่อกระตุ้นการทำงานของ osteocalcin ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นใน Dentin matrix (ส่วนหนึ่งของฟัน) สำหรับการซ่อมแซมและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อของฟันและยังสามารถทำงานร่วมกับโปรตีน matrix-GLA เพื่อช่วยฟื้นฟูฟัน[iv],[v]

ข้อเสนอแนะ: ผมขอแนะนำให้เสริมด้วยวิตามิน K2 ประมาณ 90 ไมโครกรัมต่อวัน ขอมูลเพิ่มเติมว่า วิตามิน K2 นั้นควรเป็น MK-4 และ MK-7 โดยอ่านจากบทความนี้


4. แมกนีเซียม

เมื่อกล่าวถึงการฟื้นฟูฟัน คุณมีความจำเป็นต้องใช้แมกนีเซียมในพัฒนาโครงสร้างของฟัน และกำหนดว่าร่างกายของคุณดูดซึมแคลเซียมได้ดีเพียงใด[vi]

ด้วยเหตุที่ว่า การมีแคลเซียมมากเกินไปในร่างกายรวมทั้งวิตามินดีและฟอสฟอรัส สามารถลดระดับแมกนีเซียม ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการฟื้นฟูฟันได้ กล่าวสั้น ๆ ก็คือ ต้องมีการเสริมด้วยสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่สมดุล

คล้ายกับวิตามิน D ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรไม่ได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่คุณจะเสริมแร่ธาตุที่สำคัญกว่านี้ในมื้ออาหารของคุณ

คำแนะนำ: ให้ใช้แมกนีเซียม 300 ถึง 400 มิลลิกรัมต่อวันควบคู่กับปริมาณแคลเซียม วิตามิน D3 และวิตามิน K


5. คอลลาเจน

ตลอดช่วงชีวิตของคุณ ฟันของคุณจะสึกหรออยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยการฟื้นฟูฟันใหม่ เนื้อฟันของคุณถูกสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา ฟันของคุณมีส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย เคลือบฟัน เนื้อฟัน เคลือบรากฟัน และกระดูก ซึ่งมีส่วนประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์

คอลลาเจนเป็นอินทรีย์สารที่สำคัญในฟันของคุณ ซึ่งคอลลาเจนชนิดที่ 1 เป็นส่วนประกอบถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของส่วนประกอบอินทรีย์ของเนื้อฟัน เคลือบรากฟัน และกระดูกของคุณ[vii] ในขณะเดียวกันชนิดที่ 17 เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเคลือบฟันและหากไม่เพียงพออาจทำให้เกิดความผิดปกติของฟันได้[viii]

คอลลาเจนส่วนใหญ่พบในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นเอ็นและเครื่องในสัตว์ที่เรารับประทานกันน้อยลง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การเสริมคอลลาเจนเป็นวิธีที่ดี นอกจากนี้คอลลาเจนเป็นอาหารที่ยอดเยี่ยมสำหรับสุขภาพของลำไส้และกลูตามีนที่มีปริมาณสูงจะช่วยซ่อมแซมลำไส้รั่วซึ่งช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุอาหาร

คำแนะนำ: มีแหล่งคอลลาเจนหลายชนิด ควรพิจารณาว่าแหล่งที่มานั้นทำจะประเทศที่มีมาตรฐานที่ดี และสำหรับประเทศไทยแล้ว จะเลือกหาคอลลาเจนชนิดที่ 17 คงจะหาไม่ได้ ส่วนใหญ่ที่ขายกันในเมืองไทยจะทำมาจากปลาซึ่งเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1


6. โปรไบโอติกในช่องปาก

คนส่วนใหญ่เคยได้ยินเกี่ยวกับ microbiome ในระบบทางเดินอาหาร แต่มีเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจว่าเรามี microbiome ช่องปากซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำลาย การศึกษาพบว่าผู้ที่มีส่วนประกอบของอนินทรีย์สูงในน้ำลาย (รวมถึงแคลเซียมฟอสเฟต) และผู้ที่มีความเป็นกรดสูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคเหงือกมากขึ้น[ix]

โปรไบโอติกจะเพิ่มสารประกอบอินทรีย์ในปากและน้ำลาย ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของสารประกอบอนินทรีย์และยังช่วยลดกลิ่นปาก ลดอาการของโรคเหงือกอักเสบ ลดการอักเสบ และอาจเป็นไปได้ที่จะป้องกันโรคมะเร็งในช่องปากได้[x], [xi] โปรไบโอติกยังฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อันตรายซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันผุและยับยั้งการฟื้นฟูฟัน

คำเสนอแนะ: เมื่อกล่าวถึงโปรไบโอติกในช่องปาก ให้ใช้ดุลยพินิจอย่างเดียวกันกับโปรไบโอติกในระบบอาหาร เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีจำนวนนับของเชื้อสูง (Colony Farming Units - CFU) และเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์มากที่สุด และไม่แนะนำและควรหลีกเลี่ยง้ใช้น้ำยากรวกปากที่จำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจากยาเหล่านี้จะฆ่าเชื้อดีในปากไปด้วย


ต้องการลดฟันผุ เน้นไปที่อาหารของคุณก่อนเป็นเรื่องแรก

เห็นได้ชัดว่าการป้องกันฟันผุเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพฟัน นั่นหมายถึงการลดอาหารที่ส่งเสริมการลดการฟื้นฟูฟัน (เช่นธัญพืชและอาหารอื่น ๆ ที่มีกรด phytic สูง) การเพิ่มอาหารที่ส่งเสริมการฟื้นฟูฟัน (เช่นไขมันที่ดีต่อสุขภาพและผักใบเขียวเข้า) และ การอาจใช้อาหารเสริมช่วยก็ย่อมได้

แต่ถ้าคุณกำลังประสบกับอาการปวดฟันเนื่องจากฟันผุ หรือลึกมากที่จะมีผลต่อรากฟัน ผมขอแนะนำให้คุณเลือกที่จะอุดฟันแทน นอกจากนี้ควรพูดคุยกับหมอฟันของคุณอย่างตรงไปตรงมาและตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาอยู่ด้านฝ่ายอนุรักษ์เมื่อต้องพึ่งพาการอุดฟัน

ถึงเวลาแล้วที่เราได้ใช้วิธีการแบบองค์รวมเพื่อการดูแลฟันของเรา พยายามที่จะรับประทานอาหารให้ครบ 6 ชนิด เหล่านี้และคุณอาจจะสามารถป้องกันหรือแม้กระทั่งการย้อนกลับฟันผุของคุณได้

Mark Burhenne หรือ Dr. B เป็นทันตแพทย์ที่มีบล็อก (askthedentist.com) เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงช่องปากของคุณว่า เป็นหน้าต่างสู่สุขภาพของร่างกายส่วนอื่นอย่างไร ในช่วง 30 ปีของการทำหน้าที่ในฐานะทันตแพทย์ เขาได้เห็นข้อมูลที่ผิด ๆ มากมายและผู้ที่ตกอยู่ในรอยแยกของความล้มเหลวในระบบสาธารณสุขของเราในการทำความเข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างช่องปากกับร่างกาย


เขียนโดย Dr. Mark Burhenne, DDS

อ้างอิง

106 views0 comments
bottom of page